วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ขกลไกสมอง "เครื่องคิดเลขมนุษย์" ถอดรากที่ 13 เลข 200 หลักแค่ 77 วิ

อเล็กซิส เลอแมร์ นักวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ผู้ถอดรากที่ 13 ของเลข 200 หลักได้ตั้งแต่ครั้งยังเนนักศึกษา และได้รับยกย่องจากไทม์ให้เป็น "เครื่องคิดเลขมนุษย์"

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น

บีบีซีนิวส์-ไขกลไกกระบวนการคิด "เครื่องคิดเลขมนุษย์" ชาวฝรั่งเศสผู้คิดในใจถอดรากที่ 13 เลข 200 หลักแค่ 77 วินาที เผยเทคนิคแปลงตัวเลขเป็นภาพ ประโยค สร้างความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งและตัวเลขเพื่อไม่ให้สับสนและฝึกหนักกว่า 4 ปี

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เพื่อนๆ มักจะใช้บริการให้คำนวณค่าอาหารมื้อเที่ยงเพราะคุณคิดเลขในใจได้เร็วแล้วล่ะ ก็ คุณน่าจะลองบริหารสมองหารากที่ 13 ของ

85,877,066,894,718,045,602,549,144,850,158,599,202,771,247,748,960,878,023,
151,390,314,284,284,465,842,798,373,290,242,826,571,823,153,045,030,300,932,
591,615,405,929,429,773,640,895,967,991,430,381,763,526,613,357,308,674,592,
650,724,521,841,103,664,923,661,204,223

คำตอบของเลขกว่า 200 หลักนี้คือ 2,396,232,838,850,303 เมื่อนำกลับไปคูณกัน 13 ครั้งก็จะได้เท่ากับตัวเลขจำนวนมหาศาลด้านบน แต่ถ้าคุณพึ่งเครื่องคิดเลขเชื่อเถอะว่าช้ากว่าการคิดในใจของ อเล็กซิส เลอแมร์ (Alexis Lemaire) นักวิจัยปัญญาประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสวัย 27 ผู้ได้รับยกย่องจากนิตยสาร "ไทม์" (Time) ให้เป็น "เครื่องคิดเลขมนุษย์" ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาภายในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ ออกซ์ฟอร์ด (Oxford's Museum of the History of Science) อังกฤษเลอแมร์ทำลายสถิติของตัวเลขโดยคำนวณหารากที่ 13 ของโจทย์ด้านบนด้วยเวลาเพียง 77.99 วินาที ซึ่งเจ้าตัวเปิดเผยว่าเขาฝึกหนักไม่ต่างไปจากนักกีฬาหากจะเปรียบเทียบให้เขาเป็นนักกีฬาทางความคิด

"มันค่อนข้างยาก ผมเตรียมตัวอย่างมากเพื่อสิ่งนี้ มากกว่า 4 ปีที่ต้องทำงานและฝึกอย่างหนักทุกวัน ท่องจำอย่างมาก ผมต้องมี 3 สิ่งนี้ การคำนวณ การท่องจำและอย่างที่สามคือทักษะทางคณิตศาสตร์ มันเป็นงานที่หนักมากและอาจจะเป็นพรสวรรค์โดยธรรมชาติ" เลอแมร์เผย

ทั้งนี้เราทึ่งกับความสามารถอันน่าอัศจรรย์ที่ใครจะหาคำตอบทางคณิตศาสตร์จากการคิดในใจด้วยเวลาอันรวดเร็ว และคน ธรรมดาทั่วไปเช่นเราก็อยากจะรู้ว่าเขาคนนั้นทำได้อย่างไร แต่น่าเศร้าที่เหล่านักปราชญ์และอัจฉริยะบอกเราได้เพียงแค่เศษเสี้ยวของการ ทำงานอันน่าทึ่ง ขณะที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาการทำงานสมองของคนเหล่านี้ได้เพียงน้อยนิดเกินกว่าจะให้คำตอบที่แน่ชัดได้

นักวิจัยพยายามที่จะเชื่อมโยงปัญหาของสมองทั้งบาดแผลและการทำงานที่ผิดปกติเข้ากับความสามารถพิเศษในจิตใจ หนึ่งในทฤษฎีมากมายคือการที่สมองส่วนหนึ่งถูกทำลายจะกระตุ้นให้เกิดการทำงานของสมองส่วนอื่นเพื่อชดเชย

คิม พีค (Kim Peek) ผู้เป็นออทิสติกที่มีความสามารถพิเศษรู้ในศาสตร์แขนงต่างๆ มากมายคือบุคคลตัวอย่างของกรณีดังกล่าวผู้มีการทำงานของสมองที่ผิดปกติและ ระดับสติปัญญา (IQ) ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย แต่ยังสามารถอ่านหนังสือได้อย่างรวดเร็วและจดจำข้อมูลจำนวนมากได้ ซึ่งเขาได้กลายเป็นแรงบันดาลให้เกิดตัวละครในภาพยนตร์เรื่อง "ชายชื่อเรนแมน" (Rain man) ซึ่งสวมบทบาทโดย ดัสติน ฮอฟฟ์แมน (Dustin Hoffman) นักแสดงชื่อดัง

ดร.อัลลัน ซไนเดอร์ (Dr.Allan Snyder) นักวิทยาศาสตร์ด้านสมองกล่าวว่า ทุกคนอาจมีความสามารถในการคิดเลขเร็วเช่นเดียวกันนี้แต่อาจจะเข้าไปไม่ถึงความสามารถที่มีอยู่นั้น

เลอแมร์อธิบายถึงวิธีการคิดเลขเร็วของเขาว่าเขาแปลงตำเลขมากมายในโจทย์ให้กลายเป็นภาพที่เขาจะ "มองเห็น" คำตอบของปัญหาได้

" เมื่อผมคิดถึงตัวเลขจำนวนมาก บางครั้งผมเห็นเป็นภาพวิ่ง บางครั้งเห็นเป็นประโยค ผมสามารถแปลตัวเลขเหล่านั้นให้กลายเป็นคำศัพท์ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผมมากๆ ศิลปะคือแปลงกลุ่มก้อนความจำให้กลายเป็นโครงสร้างบางอย่าง"

"ผมเห็นภาพ ประโยค การเคลื่อนไหว มันเป็นสัมผัสทางความคิดที่อ่อนไหวมาก ผมเห็นความเชื่อมโยงระหว่างตำแหน่งและตัวเลข บางตำแหน่งเป็นเพียงจินตนาการ ผมพยายามอย่างมากที่จะไม่สับสนในตัวเลข มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะจดจำ ผมจำเป็นต้องฝึก" เลอแมร์เผยเคล็ดลับ

ทั้งนี้คำอธิบายของเลอแมร์คล้ายคลึงกับปราชญ์ชาวอังกฤษที่ชื่อ แดเนียล แทมเมต (Daniel Tammet) ซึ่งสร้างสถิติโลกด้วยการท่องค่าไพ (¶) ได้มากกว่า 22,000 หลักเมื่อปี 2547

สำหรับแทมเมตแล้วตัวเลขแต่ละตัวมีสีสันชัดเจนและปรากฏเด่นชัด บางตัวสวยงามแต่บางตัวไม่ พร้อมการคำนวณที่ซับซ้อนจนฉายเป็นภาพให้เห็น และความสามารถนี้ยังครอบคลุมไปถึงเรื่องภาษาซึ่งมีรายงานว่าเขาเรียนรู้ภาษา ของชาวเกาะไอซ์แลนด์ได้ภายใน 1 สัปดาห์หลังจากที่เขาชนะเลิศการแข่งขันท่องค่าไพ

อย่างไรก็ดีเป็นเรื่องที่ปลอดภัยกว่าที่จะสรุปว่ากระบวนการทำงานทาง สมองของเลอแมร์นั้นไม่รวมถึงการแปลความหมายของคำ แต่มีบางคำอธิบายสำหรับบางสิ่งที่เขาทำ

การท่องจำที่เลอแมร์พูดถึงนั้นคือชุดในการแก้โจทย์ทางคณิตศาสตร์ อย่างเช่นการจัดกลุ่มตัวเลข 5 หลักแรกของตัวเลข 200 หลัก เขาใช้กระบวนการนี้เพื่อจัดการกับตัวเลขที่ยาวเฟื้อย

ในการคำนวณที่ง่ายกว่าในการถอดรากที่ 13 ของตัวเลข 100 หลักนั้นมีบันทึกสถิติครั้งแรกเมื่อปี 1970 ว่าใช้เวลาคำนวณ 23 นาที แต่ปัจจุบันเลอแมร์สามารถจัดการหาคำตอบได้ในเวลาน้อยกว่า 4 วินาที

ไม่ว่ากระบวนการทางจิตใจที่นำไปเลอแมร์ไปสู่คำตอบในการคำนวณทาง คณิตศาสตร์ครั้งนี้คืออะไรก็ตาม แต่ความจริงที่เขาสามารถไขโจทย์คณิตศาสตร์ในความเร็วระดับวินาทีได้โดยไม่ ใช้ปากกาหรือกระดาษเลยก็ทำให้คนที่มีสมองธรรมดาๆ อย่างเราทึ่งได้

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th

disney-online
makeover-for-girls-online-to-play
math-for-kids
car-racing-online
free-download
free-party
free-downloadable-full-version
games-for-kids
advance-game-boy-cheats
disney-playhouse
digimon-adventure-online

นักฟิสิกส์พบความลับ “วัตถุลอยได้”

ทีมนักฟิสิกส์แห่งเกาะอังกฤษขยับโลก จินตนาการสู่โลกแห่งความจริง พบความลับ “วัตถุลอยได้” อาจช่วยปฏิวัติการออกแบบจักรกลจิ๋ว รวมทั้งประยุกต์ใช้ทฤษฎีเดียวกันทำให้วัตถุที่ใหญ่กว่าลอย แม้กระทั่งคน


ศ.อูล์ฟ ลีโอนาร์ด (Prof. Ulf Leonhardt) และ ดร.โทมัส ฟิลบิน (Dr.Thomas Philbin) จากมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูวส์ (University of St.Andrews) ในสกอตแลนด์ เปิดเผยว่าพวก เขาสามารถสร้าง “การลอยได้” โดยใช้ “แรงแคสิเมียร์” (Casimir force) ซึ่งเป็นแรงที่ทำให้วัตถุติดกันด้วยแรงควอนตัม แต่พวกเขาได้ฝ่ากฎโดยทำให้วัตถุแยกจากกันแทน

ปรากฏการณ์ที่นักฟิสิกส์จากอังกฤษค้นพบนี้อาจใช้ปรับปรุงคุณสมบัติ ของอุปกรณ์ในชีวิตประจำวันตั้งแต่ถุงลมนิรภัยไปจนถึงชิปคอมพิวเตอร์ โดยคาดว่าจะพัฒนาจักรกลขนาดเล็กซึ่งต้องเคลื่อนที่ให้ลอยได้ และหลักการเดียวกันนี้พวกเขาคาดว่าจะใช้ยกวัตถุที่ใหญ่กว่าไปจนถึงทำให้คน ลอยได้

สำหรับแรงแคสิเมียร์เป็นผลสืบเนื่องจากกลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งเป็นทฤษฎีที่อธิบายโลกของอะตอม และอนุภาคขนาดเล็ก แรง นี้ไม่ขึ้นกับประจุไฟฟ้าหรือความโน้มถ่วงโลกแต่ขึ้นกับการกระเพื่อมในสนาม พลังงานในที่ว่างระหว่างวัตถุซึ่งเป็นสาเหตุให้อะตอมติดกัน และแรงยังใช้อธิบายปรากฏการณ์ “กาวแห้ง” ที่ทำให้จิ้งจกเดินและยึดติดเพดานได้แม้เพียงนิ้วเดียว

แรงแคสิเมียร์ได้รับการค้นพบในปี 2491 แต่สามารถวัดแรงนี้ได้ครั้งแรกในปี 2540 และตอนนี้นักฟิสิกส์อังกฤษทั้งสองเผยว่าสามารถใช้แรงนี้แยกวัตถุออกจากกัน แทนที่จะยึดติดกันในภาวะสุญญากาศ โดยใช้เลนส์ที่ออกแบบเป็นพิเศษ แม้ในทางปฏิบัติการออกเลนส์เพื่อทำให้วัตถุลอยได้ยังเป็นเรื่องยากลำบากแต่ ทีมวิจัยเชื่อว่าไม่ถึงขั้นเป็นไปไม่ได้

เนื่องจากแรงแคสิเมียร์เป็นปัญหาสำหรับนักนาโนเทคโนโลยีที่พยายามจะ สร้างวงจรไฟฟ้าและจักรกลขนาดเล็กบนชิปซิลิกอน หรือบนอุปกรณ์อื่น และยังทำให้ “โลกนาโน” ต้องติดขัดอย่างในบางระบบกลไกทางไฟฟ้าขนาดจิ๋วซึ่งมีบทบาทสำคัญมาก เช่น กลไกในการเด้งถุงลมนิรภัยให้พองตัว หรือกลไกที่เป็นพลังงานสำหรับการทดสอบยาหรือวิเคราะห์เคมีบนชิปขนาดเล็ก

ดร.ฟิลบิน กล่าวว่า เครื่องจักรระดับไมโครหรือนาโนจะทำงานได้อย่างราบรื่นมากขึ้นโดยไม่ติดหรือ ติดขัดน้อยที่สุดหากสามารถใช้แรงแคสิเมียร์นี้ได้ และแม้ว่าจะนำหลักการนี้ไปยกวัตถุขนาดใหญ่อย่างคนได้ แต่นักวิทยาศาสตร์ยังต้องพัฒนาเทคโนโลยีอีกยาวนานเพื่อไปถึงความสามารถนั้น

“สำหรับตอนนี้การทำให้คนเราลอยได้ยังคงเป็นเพียงเรื่องราวในการ์ตูน เทพนิยายและตำนานในเรื่องเล่าที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์” ศ.ลีโอนาร์ดให้ความเห็น

ทั้งนี้ ศ.ลีโอนาร์ด และ ดร.ฟิลบินจะตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ “นิวเจอร์นัล ออฟ ฟิสิกส์” (New Journal of Physics) และก่อนหน้านี้ ศ.ลีโอนาร์ดเคยมีผลงานเกี่ยวกับทฤษฎีล่องหน ซึ่งช่วยยืนยันว่าสามารถทำ “ผ้าคลุมแฮร์รี” ให้เป็นจริงได้ โดยให้คลื่นแสงไหลผ่านวัตถุคล้ายสายน้ำไหลผ่านก้อนหินที่เรียบลื่น

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th

basketball-online
the-n-and-quizzes
computer-for-toddlers
play-michael-jackson
christmas-office-party
play-online-basketball-for-free
printable-word
bratz-play
free-internet-play
free-ipod

ซูเปอร์คอมพ์แก้เกม "ลูกบาศก์รูบิค" บิดแค่ 26 ครั้ง

2 นักศึกษาสหรัฐใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แก้วิธีหมุน "ลูกบาศก์รูบิค" แค่เพียง 26 ครั้ง เข้าใกล้ "จำนวนแห่งเทพ" ซึ่งเป็นการหมุนน้อยครั้งที่สุดให้ลูกบาศก์คืนสภาพ

หลายคนคงเคยเห็น "ลูกบาศก์รูบิค" (Rubik's Cube) ของเล่นที่ให้เราบิดเพื่อให้สี่เหลี่ยมแต่ละด้านกลับคืนสู่รูปเดิม ซึ่งหลายคนอาจจะท้อจนอยากปาของเล่นทิ้งไปไกลๆ ขณะบางคนอาจใช้เวลาแค่ 5 นาทีจัดการกับความยุ่งเหยิงบนลูกบิดให้คืนสู่ความเรียบร้อย แต่ไม่ว่าจะแน่แค่ไหนคงต้องยอมแพ้ 2 นักศึกษาสหรัฐที่ใช้ "ซูเปอร์คอมพิวเตอร์" แก้เกมด้วยการบิดเพียงแค่ 26 ครั้ง และคาดว่าจะทำได้น้อยกว่านี้อีก

แดนเนียล คันเกิล (Daniel Kunkle) และ ยีน คูเปอร์แมน (Gene Cooperman) 2 นักศึกษาคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยนอร์ธอีสเทิร์น (Northeastern University) ในบอสตัน แมสซาซูเซ็ตส์ สหรัฐอเมริกา ได้ทำงานวิจัยโดยอาศัยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ค้นวิธีแก้เกมลูกบาศก์รูบิค ด้วยการบิดจำนวนครั้งน้อยที่สุด

จากการทำงานของซูเปอร์คอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง 63 ชั่วโมง ได้ผลว่าสามารถบิดลูกบาศก์รูบิคให้กลับคืนสู่รูปร่างเดิมด้วยการหมุนแค่ 26 ครั้ง และนักวิจัยทั้ง 2 ยังเชื่อว่าจะสามารถหาวิธีบิดด้วยจำนวนครั้งที่น้อยกว่านี้อีก โดยสถิติดีที่สุดก่อนหน้านี้คือ 27 ครั้ง

ทั้งนี้การหาตำแหน่งที่เป็นไปได้ของลูกบาศก์ 43 ล้านล้านล้านล้านตำแหน่ง (43x1024) ก็ยังเป็นเรื่องที่ยุ่งเหยิงเกินไปสำหรับคอมพิวเตอร์ ดังนั้น 2 นักศึกษาจึงได้การแก้ปัญหา 2 ขั้นตอน

ขั้นแรกคือการเขียนโปรแกรมให้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เข้าถึงครึ่งของการ แก้ปัญหา 15,000 วิธี ซึ่งคันเกิลและคูเปอร์แมนได้ตำแหน่งที่แน่นอนในบางจุด และการแก้ปัญหาในขั้นนี้บ่งชี้ว่าพวกเขาสามารถทำให้ลูกบิดคืนสภาพเดิมได้ ด้วยการหมุนมากสุด 29 ครั้ง แต่ส่วนใหญ่สามารถแก้เกมได้ในการหมุน 26 ครั้งหรือน้อยกว่า

จากจุดนี้นักศึกษาแห่งนอร์ธอีสเทิร์นตัดสินใจที่จะให้ความสนใจในรูป ทรงจำนวนเล็กๆ ที่ต้องใช้การหมุนมากกว่า 26 ครั้งเพื่อแก้เกมทั้งหมด และเพราะว่ามีจำนวนที่ไม่มากจึงมีความเป็นไปได้ที่จะใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ฉายภาพของคำตอบออกมา และเป็นที่น่าประหลาดใจว่าคอมพิวเตอร์สามารถแก้เกมด้วยวิธีหมุนน้อยกว่า 26 ครั้ง

การค้นพบของทั้ง 2 ทำให้อาจนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า "จำนวนแห่งเทพ" (God’s number) ซึ่งเป็นจำนวนการบิดลูกบาศก์รูบิคที่น้อยที่สุดให้คืนสู่สภาพเดิม โดยตามทฤษฎีแล้วจำนวนดังกล่าวจะอยู่ในช่วง 20 ต้นๆ

คันเกิลและคูเปอร์แมนเปิดเผยผลการวิจัยดังกล่าว ระหว่างการประชุมนานาชาติด้านการคำณวนเชิงสัญญลักษณ์และพีชคณิต ที่วอเตอร์ลู ออตาริโอ แคนาดา (International Symposium on Symbolic and Algebraic Computation in Waterloo, Ontario)

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th

fun-free
teenage-party
free-batman
free-to-print-for-showers
free-on-line
totally-free-java-sent-to-my-phone
printable-word-crostic
free-game-to-play
free-fighting-on-the-internet
spiderman-to-play-online

จะมีไหม "ทฤษฎีสรรพสิ่ง" อธิบายทั้งจักรวาล

เรื่องของการท้าทายธรรมชาติ ความพยายามเอาชนะในสิ่งที่เหนือกว่าเป็นสิ่งที่มีในตัวมนุษย์ทุกคน จึงไม่แปลกที่นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งจะลุกขึ้นมาหา "ทฤษฎีสรรพสิ่ง" ที่อธิบายกฎทั้งหมดในจักรวาล แล้วทฤษฎีดังกล่าวมีจริงหรือไม่

เพื่อจะอธิบายความเป็นไปของจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลนักวิทยาศาสตร์ พยายามหาสิ่งที่เล็กที่สุดซึ่งประกอบขึ้นเป็นจักรวาล ในอดีตกาลนักคิดโบราณเชื่อว่าดิน น้ำ ลม ไฟ คือธาตุพื้นฐานที่สุดของจักรวาล แต่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาตร์ได้ทำให้รู้ว่ามีสิ่งที่เล็กลงไปอีก

ในส่วนของนักฟิสิกส์ก็มองสิ่งที่เล็กลงไปถึงระดับอนุภาคซึ่งเล็กยิ่ง กว่าอะตอมเพื่ออธิบายถึงแรงดึงดูดและสิ่งเล็กๆ ที่รวมเป็นอะตอม ตลอดจนเสถียรภาพที่อะตอมคงสภาพไว้ได้ และก็สามารถรวมแรงพื้นฐานต่างๆ เข้าด้วยกันโดยเริ่มตั้งแต่แรงแม่เหล็กและแรงไฟฟ้า กลายเป็นแรงแม่เหล็กไฟฟ้า จนกระทั่งสามารถรวมแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อนและอย่างเข้มซึ่งแรงทั้งหมดพบได้ในระดับอะตอม

มีเพียงแรงโน้มถ่วงที่เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) เผยให้โลกได้รับรู้ราว 200 ปีแล้วเท่านั้นที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถรวมเข้าแรงอื่นๆ ได้ หากแรงพื้นฐานทั้งหมดรวมเข้าด้วยกันได้ นักวิทยาศาสตร์ก็จะค้นพบ "จอกศักดิ์สิทธิ์" ของวงการฟิสิกส์ที่เรียกว่า "แบบจำลองมาตรฐาน" (Standard Model) ซึ่งสามารถอธิบายจักรวาลได้ตั้งแต่เสี้ยววินาทีแรกหลังเกิด "บิ๊กแบง" (Big Bang)

ปัจจุบันจึงเกิดคำถามสำคัญที่สุดในวงการวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ว่า มี "ทฤษฎีสรรพสิ่ง" (Theory of Everything) ซึ่งเป็นทฤษฎีหนึ่งเดียวที่สามารถอธิบายทุกสิ่งได้หรือไม่


มาร์ก แจ็คสัน (Mark Jackson) นักฟิสิกส์ทฤษฎีแห่งห้องปฏิบัติการเฟอร์มิแล็บ (Fermilab) ในอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกาให้ความเห็นว่านักฟิสิกส์เข้าใจการถือกำเนิดของเอกภพตั้งแต่ ระดับ 1 ในล้านวินาทีแล้ว แต่ความรู้ฟิสิกส์เท่าที่มีอยู่ยังไม่สามารถอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นแรกสุด จริงๆ นับแต่เกิดระเบิดบิ๊กแบง ทั้งนี้หากสามารถรวมแรงโน้มถ่วงเข้ากับแรงอื่นๆ ได้จะทำให้ทฤษฎีฟิสิกส์ที่อธิบายทุกอย่างในจักรวาลกลายเป็นจริง

แบบจำลองมาตรฐานของฟิสิกส์มองอนุภาคเป็นจุดที่ไม่สามารถวัดได้และ บรรจุแรงพื้นฐานเอาไว้ และแม้ว่าแบบจำลองนี้ยังไม่สามารถรวมแรงโน้มถ่วงเข้ากับแรงอื่นๆ ได้ อีกทั้งยังเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยากขึ้น เนื่องจากต้องพูดกันในเรื่องพลังงานระดับสูงด้วย แต่ทฤษฎีนี้ก็เป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ดีที่สุดสำหรับอธิบายทางฟิสิกส์ แม้ว่าจะยังต้องใช้เวลาในการทดสอบอีกก็ตาม

ไมเคิล เทอร์เนอร์ (Michael Turner) นักจักรวาลวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago) สหรัฐอเมริกากล่าวว่าแบบจำลองมาตรฐานยังเป็นแบบจำลองที่ไม่สมบูรณ์แต่นัก วิทยาศาสตร์อย่างเขาก็ยังไม่พบช่องโหว่ของทฤษฎีนี้

เทอร์เนอร์อธิบายว่าหาก ค้นพบอนุภาคซึ่งชักนำให้เกิดมวลที่เรียกว่า "ฮิกก์ส" (Higgs) ก็จะเป็นการพิสูจน์อย่างชัดแจ้งว่าแรงแม่เหล็กไฟฟ้าและแรงนิวเคลียร์เป็นแรง เดียวกันที่ความแตกต่างในบางแง่มุม แต่ยังต้องมีการทดลองระดับยักษ์เพื่อจะทดสอบแบบจำลองนี้

"มันเป็นความมหัศจรรย์ที่ทำให้เรารวมแรงทั้งสองเข้าด้วยกันได้" เทอร์เนอร์กล่าวถึงฮิกก์สที่อาจจะพบได้สักวันเมื่ออนุภาคถูกจับชนกันใน เครื่องเร่งอนุภาค และเปลี่ยนสสารให้กลายเป็นพลังงานที่มีความเข้มสูงเช่นเดียวกับพลังงานของ เอกภพในยุคเริ่มต้น

แม้โดยปกติแบบจำลองมาตรฐานจะมีความยุ่งยากมากพอสำหรับนักฟิสิกส์บาง คนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีทฤษฎีใหม่ๆ ออกมาเพื่อสร้างแบบจำลองนี้โดยรวมแรงโน้มถ่วงและต้องศึกษาในระดับพลังงานสูง ขั้นสุดขีดอีกหลายทฤษฎี

ในจำนวนทฤษฎีมากมายนั้นมีทฤษฎีซึ่งเป็นที่นิยมมากคือ "ทฤษฎีสตริง" (string theoty) ซึ่งอธิบายว่าอนุภาคคือเส้นพลังงานซึ่งสั่นที่ความถี่ต่างกัน ทั้งนี้เพื่ออธิบายอนุภาคซึ่งมีธรรมชาติคล้ายจุด ทฤษฎีสตริงได้ถือว่าเส้นของอนุภาคมีมิติที่ขดซ่อนอยู่ 10-11 มิติ โดยนักฟิสิกส์มีความเข้าใจแล้ว 6-7 มิติ

แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีสตริงก็คล้ายกับการมองตึกสูงจากจุดที่อยู่ไกล มากๆ ซึ่งทำให้เห็นตึกคล้ายกับจุดเล็กๆ แต่เมื่อขยับใกล้เข้าไปก็จะพบภาพที่ใหญ่ขึ้นปรากฏตั้งแต่เป็นภาพแบนๆ จนกระทั่งกลายเป็นโครงสร้าง 3 มิติ และสิ่งที่ขดซ่อนอยู่ในตึกเมื่อมองจากมุมไกลๆ ก็คือ "มิติพิเศษ" (extra dimension)

มิติที่เหลือซึ่งทฤษฎีสตริงยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ทำให้หลายคนวิตก กังวล แต่แจ็กสันแห่งเฟอร์มิแล็บคิดว่ามีบางเส้นอนุภาคที่ขยายทั่วเอกภพกลายเป็น "ซูเปอร์สตริงส์" (Superstrings) ซึ่งใหญ่พอที่ตรวจจับได้ในอวกาศสักวันหนึ่ง ถึงแม้จะขาดซึ่งหลักฐานที่ชัดเจนแต่เขาก็มั่นใจว่าทฤษฎีสตริงจะถูกต้องในที่ สุดและเชื่อว่าเป็นทฤษฎีที่อธิบายเอกภพได้

ทางด้านสกอตต์ โดเดลสัน (Scott Dodelson) นักจักรวาลวิทยาแห่งเฟอร์มิแล็บก็เป็นอีกคนหนึ่งที่พยายามหาตรรกวิทยาของ ทฤษฎีสรรพสิ่ง แต่เขาก็ไม่คิดว่าจะต้องล้มล้างแนวคิดใดแนวหนึ่งไปเสียทีเดียว

"มีการเข้าถึงความจริงซึ่งเป็นพื้นฐานอยู่ 2 แนวทาง อย่างแรกคือมองจากเล็กไปใหญ่ (bottom-up) ซึ่งใช้ข้อมูลและตรึงองค์ประกอบของทฤษฎีเพื่อทำให้เกิดความสละสลวยมากขึ้น อีกแนวทางคือมองจากใหญ่ไปเล็ก (top-down) ซึ่งเริ่มต้นจากทฤษฎีที่สวยงามและทำงานกับข้อมูลจำนวนมาก คำเปรียบเปรยของผมก็คือคนทำงานในกลุ่มที่มองจากเล็กไปใหญ่นั้นต้องการที่จะ จมและขลุกอยู่กับข้อมูล" โดเดลสันกล่าว

โดเดลสันกล่าวว่าการทดลองให้อนุภาคชนกันซึ่งต้องใช้พลังงานสูงนั้น อาจเผยให้เห็นถึงความลับของปริศศนาสสารมืด (dark matter) ที่มีอยู่มากในเอกภพและยังไม่เป็นที่รู้จัก ขณะเดียวกันก็อาจเผยให้เห็นอนุภาคจำพวกใหม่ๆ ซึ่งอาจเติมเต็มแบบจำลองมาตรฐานได้

" ท้ายที่สุดเราอาจจะแทงทะลุ "ผ้าคลุม" แห่งสสารมืดและตรวจจับอนุภาคที่มีความสมมาตรอย่างยิ่งยวดได้ในห้องปฏิบัติ การ เครื่องเร่งอนุภาคดังกล่าวอาจจะนำเราไปรู้จักกับประเภทของอนุภาคใหม่ๆ ทั้งหมดและช่วยสร้างแบบจำลองมาตรฐานขึ้นมาได้" โดเดลสันกล่าว

อย่างไรก็ดีทั้งนักฟิสิกส์ นักทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยาต่างก็รอคอยให้มีการเดินเครื่องของเครื่อง เร่งอนุภาคขนาดใหญ่แอลเอชซี (Large Hadron Collider: LHC) ของห้องปฏิบัติการเซิร์น (CERN) หรือองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อวิจัยและพัฒนาทางด้าน นิวเคลียร์ (European Organization for Nuclear Research) ในยุโรป

เครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซีจะเดินเครื่องในเดือน พ.ค. 2551 หลังจากที่ต้องเลื่อนกำหนดการเดินเครื่องที่ควรจะเกิดขึ้นภายในปีนี้ เนื่องจากอุบัติเหตุเมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา จนทำให้เกิดความเสียหายกับแม่เหล็กขนาดใหญ่ของเครื่องตรวจวัดอนุภาค ทั้งนี้เมื่อวันที่อนุภาคชนกันมาถึงเราก็จะได้ทราบกันเสียทีว่าทฤษฎีสรรพ สิ่งมีจริงหรือไม่

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th

home-party
halloween-party
free-slot
text-twist-on-yahoo
free-online-game
virtual-life
disney-channel-com
download-free-nokia
play-millionaire-game-on-internet
zoog-disney

เผยไต๋ "สไปเดอร์แมน"

ชุด "สไปเดอร์แมน" สีแดงสดสุดเท่ ซึ่งช่วยให้ผู้สวมใส่สามารถไต่ตึกสูงได้นั้น อาจผลิตได้จริงในวันหนึ่งหลังจากเราทราบความลับของตุ๊กแกและแมงมุมที่ยึด เกาะผนังได้

งานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ผ่านวารสารเจอร์นัล ออฟ ฟิสิกส์ (Journal of Physics) ได้รายงานการ ศึกษาเทคโนโลยีเลียนแบบธรรมชาติ (Natural Technology) ซึ่งนำแมงมุมและตุ๊กแกมาศึกษา อาจช่วยให้คนเราปีนป่ายข้างตึกหรือห้อยโหนลงมาจากบนหลังคาได้ ทั้งนี้แมงมุมและตุ๊กแกนั้นต่างมีขนเล็กๆ ที่ช่วยยึดเกาะกับพื้นผิวต่างๆ ได้ ขณะที่บางรายงานก็ระบุว่าตุ๊กแกสามารถผยุงน้ำหนักได้มากกว่าน้ำหนักตัวเอง หลายร้อยเท่า

เมื่อปี 2545 มีงานวิจัยของสหรัฐอเมริการะบุว่าการเกาะติดของตีนตุ๊กแกนั้นขึ้นอยู่กับแรงแวน เดอ วาลส์ (van der Waals) ซึ่งเป็นแรงระหว่างโมเลกุลอย่างอ่อน โดยแรงดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อมีความไม่สมดุลของประจุไฟฟ้ารอบๆ โมเลกุลของขนเส้นเล็กๆ ขนาดต่างกันนับล้านล้านเส้นซึ่งเรียงกันเป็นลำดับชั้นในตีนแต่ละข้างของ ตุ๊กแก แรงดึงดูดที่สะสมจากเส้นขนนับล้านล้านเส้นทำให้ตุ๊กแกเดินไปบนผนังหรือแม้ แต่เดินกลับหัวจากกระจกเรียบๆ ได้

ศ.นิโคลา ปักโน (Prof.Nicola Pugno) จากวิทยาลัยโพลีเทคนิคแห่งตูริน อิตาลี ได้คำนวณหาวิธีที่จะนำการยึดเกาะแบบเดียวกันนี้มาใช้รองรับน้ำหนักของมนุษย์ แต่ว่ายิ่งพื้นผิวที่ต้องการยึดเกาะใหญ่ขึ้นเท่าไหร่ ความแข็งแรงในการยึดเกาะก็ยิ่งลดลงไปด้วย ดังนั้นถุงมือขนาดพอเหมาะกับมือคนที่เลียนแบบขนเล็กๆ ของตุ๊กแกจึงไม่สามารถยึดติดได้ดีเท่ากับตีนตุ๊กแก

" นักวิจัยบางคนสามารถคำนวณทางทฤษฎีหาความแข็งแรงในการยึดเกาะมากกว่า 200 เท่าของความแข็งแรงในการยึดเกาะของตุ๊กแก แต่ระหว่างทฤษฎีและการประยุกต์ในทางปฏิบัตินั้นมีช่องว่างที่กว้างมาก ถ้าเราสามารถทำให้พื้นผิวมีความแน่นมากขึ้นเล็กน้อย ผลข้างเคียงที่ว่าก็จะหายไป แล้วเราก็จะผลิตชุดที่มีแรงยึดเกาะเช่นเดียวกับตุ๊กแกได้" ศ.ปักโนกล่าว

นักวิจัยแห่งตูรินคาดหวังว่าท่อนาโนคาร์บอน (carbon nanotube) จะเป็นทางเลือกสำหรับใช้ผลิตเส้นขนเลียนแบบตุ๊กแกได้ ทั้งนี้ท่อนาโนคาร์บอนเป็นท่อทรงกระบอกขนาดเล็กที่มีขนาดเพียง 1 ในล้านล้านส่วนของ 1 เมตร แต่มีความแข็งแรงอย่างมากและสามารถผลิตเป็นท่อที่ใหญ่ขึ้นได้

ศ.ปักโนยังเน้นย้ำว่าต้องพิสูจน์คุณสมบัติ 3 อย่างของ ชุดสไปเดอร์แมน อย่างแรกซึ่งชัดเจนที่สุดคือคุณสมบัติในการยึดเกาะ ถัดมาคือต้องหลุดจากพื้นผิวได้ง่ายเมื่อยึดติดแล้ว อย่างสุดท้ายคือต้องสามารถทำความสะอาดตัวเองได้ที่อุณหภูมิค่าหนึ่ง ซึ่งการทำความเข้าใจในความต้องการอย่างหลังนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะความสกปรกจะมาพร้อมกับคุณสมบัติในการยึดติดของชุด

วิธีหนึ่งที่จะให้ชุดทำความสะอาดตัวเองได้คือต้องทำให้ชุด "ไม่ชอบน้ำสุดขีด" (superhydrophobic) เพื่อที่จะสลัดน้ำออกได้อย่างเต็มที่ เมื่อหยดน้ำเล็กๆ ถูกสลัดออกบริเวณที่สัมผัสก็ควรจะนำพาอนุภาคสกปรกออกไปด้วย ซึ่งจะสร้างคุณสมบัตินี้ได้ง่ายๆ โดยการดัดแปลงคุณสมบัติทางเรขาคณิตของพื้นผิวด้วยศาสตร์ที่เรียกว่า "ทอพอโลจี" (Topology)

" จะทำให้กลไกทั้งหมดทำงานพร้อมกันทั้งหมดเป็นเรื่องยาก เพราะแต่คุณสมบัติจะขัดกันเอง แต่ตุ๊กแกและแมงมุมก็ได้แสดงภาพให้เห็นว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ทำได้" ศ.ปักโนกล่าว

พร้อมกันนี้ ศ.ปักโนยังเสริมว่ามีการประยุกต์มากมายสำหรับชุดยึดเกาะได้ โดยสามารถออกแบบสำหรับถุงมือและรองเท้าสำหรับคนทำความสะอาดหน้าต่างบนอาคาร สูงได้

อย่าง ไรก็ดีกล้ามเนื้อของคนเราก็ต่างกันมากกับตุ๊กแก ดังนั้นเราอาจต้องทุกข์ทรมานกับอาการกล้ามเนื้อบาดเจ็บหากพยายามที่จะยึด เกาะกับผนังเป็นเวลานานหลายชั่วโมง

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th

ps2-game-hints-cheats
kids-to-play-online
most-fun
free-word
free-multiplayer
free-rpg
disney-kids
download-free-tycoon
free-civil-war
free-fun

Hello

verapontkavil